เมนู

3 เหล่านี้แล ภิกษุเมื่อหน่ายโดยชอบ ฯลฯ ย่อมเป็น
ผู้ทำที่สุดทุกข์ได้ คำนี้ใดว่า ปัญหา 3 อุทเทส 3
ไวยากรณ์ 3 ดังนี้ คำนี้เราอาศัยข้อนั้นกล่าวแล้ว
ดังนี้.
ในปัญหาข้อนี้ พึงทราบว่า ภิกษุละสุขสัญญา ความสำคัญว่าสุข
ด้วยการเห็นเวทนาทั้งสามเป็นทุกข์ แล้วหน่ายโดยมุขคือการพิจารณาเห็นทุกข์
ตามแนวพระสูตรที่ตรัสไว้ว่า เวทนาความเสวยอารมณ์อย่างใดอย่างหนึ่ง ทั่ง
หมดนั้นเรากล่าวว่าเป็นทุกข์ หรือตามแนวความเป็นทุกข์ เพราะทุกข์เป็นทุกข์
เพราะแปรปรวนและเป็นทุกข์เพราะปัจจัยปรุงแต่งอย่างนี้ว่า
โย สุขํ ทุกฺขโต อทฺท ทุกฺขมทฺทกฺขี สลฺลโต
อทุกฺขมสุขํ สนฺตํ อทฺทกฺขิ นํ อนิจฺจโต.
ผู้ใดเห็นสุขเป็นทุกข์ เห็นทุกข์เป็นดังลูกศร
เห็นอทุกขมสุขมีอยู่ ผู้นั้น ชื่อว่าเห็นเวทนานั้นเป็น
ของไม่เที่ยง
ดังนี้.
ย่อมจะเป็นผู้ทำที่สุดทุกข์ได้ ย่อมบรรลุปรมัตถวิสุทธิได้เหมือนอย่างที่ตรัสไว้ว่า
สพฺเพ สงฺขารา ทุกฺขาติ ยทา ปญฺญาย ปสฺสติ
อถ นิพฺพินฺทติ ทุกฺเย เอส มคฺโค วิสุทฺธิยา.
เมื่อใดเห็นด้วยปัญญาว่า สังขารทั้งปวงไม่เที่ยง
เมื่อนั้น ย่อมหน่ายในทุกข์ นั่นเป็นทางแห่งวิสุทธิ

ดังนี้.

พรรณนาปัญหาว่า อะไรเอ่ย ชื่อว่า 4


พระศาสดา ผู้มีจิตอันพระเถระทำให้ทรงยินดีด้วยการพยากรณ์ปัญหา
แม้นี้อย่างนี้แล้ว จึงตรัสถามปัญหายิ่งขึ้นไป เหมือนนัยก่อน ๆ ว่า อะไร

เอ่ย ชื่อว่า 4 ในปัญหาข้อนี้ ในฝ่ายพยากรณ์ปัญหานี้ บางแห่ง ท่านประ-
สงค์เอาอาหาร 4 ตามนัยก่อน ๆ เหมือนอย่างตรัสไว้ว่า
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ในธรรม 4 ภิกษุเมื่อหน่าย
ฯลฯ เป็นผู้ทำที่สุดทุกข์ได้ ในธรรม 4 คือ อาหาร 4.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ในธรรมเท่านี้แลภิกษุเมื่อหน่าย
โดยชอบ ฯลฯ เป็นผู้ทำที่สุดทุกข์ได้. คำนั้นใดว่า
ปัญหา 4 อุทเทส 4 ไวยากรณ์ 4 ดังนี้ คำนี้เรา
อาศัยข้อนั้นกล่าวแล้ว
ดังนี้.
บางแห่ง ภิกษุผู้มีจิตอบรมดีแล้วในคุณธรรมเหล่าใด ย่อมเป็นผู้ทำ
ที่สุดทุกข์ได้โดยลำดับ คุณธรรมเหล่านั้น ก็คือสติปัฏฐานสี่ เหมือนอย่าง
พระกชังคลาภิกษุณีกล่าวไว้ว่า
ผู้มีอายุ ในธรรม 4 ภิกษุมีจิตอบรมดีแล้วโดย
ชอบ เห็นที่สุดโดยชอบ ตรัสรู้ความเป็นธรรมโดยชอบ
ย่อมเป็นผู้ทำที่สุดทุกข์ได้ในปัจจุบัน ในธรรม 4 คือ
สติปัฏฐาน 4 ผู้มีอายุ ในธรรม 4 เหล่านี้แล ภิกษุ
มีจิตอบรมดีแล้วโดยชอบ ฯลฯ ย่อมเป็นผู้ทำที่สุดทุกข์
ได้ คำนั้นใด พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า ปัญหา 4
อุทเทส 4 ไวยากรณ์ 4 คำนี้ ดีฉันอาศัยข้อนั้น
กล่าวแล้ว
ดังนี้.
แต่ในที่นี้ การตัดภวตัณหามีได้ เพราะตรัสรู้ตามและแทงตลอด
อริยสัจ 4 เหล่าใด เพราะเหตุที่อริยสัจ 4 เหล่านั้น ท่านประสงค์เอาแล้ว
หรือเพราะเหตุที่ปัญหากรรมที่ท่านพยากรณ์ด้วยปริยายนี้ เป็นอันพยากรณ์ดี

แล้วทั้งนั้น ฉะนั้น พระเถระกล่าวซ้ำว่า จตฺตาริ 4 จึงทูลตอบว่า อริสจฺจานิ
อริยสัจทั้งหลาย. ในคำนั้นศัพท์ว่า จตฺตาริ 4 เป็นการกำหนดด้วยจำนวน.
บทว่า อริยสจฺจานิ ได้แก่ สัจจะที่เป็นอริยะ อธิบายว่า ไม่ผิดไม่คลาด
เคลื่อน เหมือนอย่างที่ตรัสไว้ว่า
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อริยสัจ 4 เหล่านี้แล เป็น
ของแท้ ไม่ผิด ไม่แปรเป็นอื่น เพราะฉะนั้น ท่าน
จึงเรียกว่า อริยสัจ.

อีกอย่างหนึ่ง เพราะเหตุใดท่านอธิบายไว้ว่า เพราะเป็นสัจจะอันโลก
ทั้งเทวโลกพึงดำเนิน พึงบรรลุ. เพราะดำเนินไปในทางเจริญที่เข้าใจกันว่า
ฐานที่ควรพยายามบ้าง เพราะไม่ดำเนินไปในทางไม่เจริญบ้าง พระพุทธเจ้า
พรูปัจเจกพุทธเจ้าและพระพุทธสาวกทั้งหลาย ที่รับรู้กันว่าเป็นพระอริยะ
เพราะประกอบพร้อมด้วยอริยธรรม คือโพธิปักขิยธรรม 37 ประการ ย่อม
แทงตลอดอริยสัจเหล่านี้ แม้เพราะเหตุนั้น ท่านจึงเรียกว่า อริยสัจ เหมือน
อย่างที่ตรัสไว้ว่า
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อริยสัจ 4 เหล่านี้ ฯลฯ
อริยสัจ 4 เหล่านี้แล พระอริยะทั้งหลาอยู่อมแทงตลอด
อริยสัจ 4 เหล่านี้ เพราะฉะนั้น จึงเรียกว่าอริยสัจ.

อีกนัยหนึ่ง ชื่อว่าอริยสัจ เพราะเป็นสัจจะของพระผู้มีพระภาคเจ้า
ผู้เป็นอริยะ เหมือนอย่างที่ตรัสไว้ว่า
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ตถาคตเป็นอริยะในโลกทั้ง
เทวโลก ฯลฯ ทั้งเทวดาและมนุษย์ เพราะฉะนั้น จึง
เรียกว่าอริยสัจ.

อีกนัยหนึ่ง ชื่อว่าอริยสัจ แม้เพราะทำให้สำเร็จความเป็นอริยะ
เพราะอริยสัจเหล่านั้น ทรงรู้ยิ่งด้วยพระองค์เองแล้ว เหมือนอย่างที่ตรัสไว้ว่า
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะอริยสัจ 4 เหล่านี้แล
ตถาคตตรัสรู้ยิ่งเองตามเป็นจริง ตถาคตจึงถูกเรียกว่า
พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า.

ความแห่งบทของอริยสัจเหล่านั้นมีดังนี้ ความตัดขาดภวตัณหา ย่อม
มีได้ เพราะความตรัสรู้ตามและแทงตลอดอริยสัจเหล่านั้น เหลือนอย่างที่ตรัส
ไว้ว่า
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ทุกขอริยสัจนี้นั้น อันเรา
ตถาคตตรัสรู้แล้ว แทงตลอดแล้ว ฯลฯ ทุกขนิโรธ
คามินีปฏิปทาอริยสัจ อันเราตถาคตตรัสรู้แล้ว แทง
ตลอดแล้ว ภวตัณหาเราตถาคตก็ถอนได้แล้ว ตัณหา
ที่นำไปในภพ ก็สิ้นแล้ว บัดนี้ การเกิดอีกไม่มีกันละ

ดังนี้.

พรรณนาปัญหาว่า อะไรเอ่ย ชื่อว่า 5


พระศาสดา มีจิตอันพระเถระทำให้ทรงยินดีด้วยการพยากรณ์ปัญหา
แม้นี้แล้ว จึงตรัสถามปัญหายิ่งขึ้นไปตามนัยก่อน ๆ ว่า อะไรเอ่ย ชื่อว่า 5.
พระเถระกล่าวซ้ำว่า ปญฺจ 5 จึงทูลตอบว่า อุปาทานขันธ์ ในคำเหล่านั้น
คำว่า ปญฺจ 5 เป็นการกำหนดจำนวน. ขันธ์ทั้งหลาย ที่ถูกอุปาทานให้
เกิดมา หรือที่ทำอุปาทานให้เกิด ชื่อว่าอุปาทานขันธ์. รูป เวทนา สัญญา
สังขาร และวิญญาณ อย่างใดอย่างหนึ่ง มีอาสวะ อันบุคคลพึงยึดถือ คำนี้
เป็นชื่อของอุปาทานขันธ์เหล่านั้น ก็ในที่นี้ พระเถระกล่าวว่า อุปาทานขันธ์ 5